การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อ sustainability ด้วยข้อมูล

Sustainability

ทุกวันนี้ในโลกดิจิตัล เทรนด์ที่กำลังมาแรงเห็นจะเป็น sustainability หรือเรียกกันว่า ความยั่งยืน ค่ะ ดังนั้นบทความนี้เราจะขอพูดเรื่อง sustainability นะคะ

พวกเราอาศัยอยู่บนโลก ดังนั้นหน้าที่รับผิดชอบของทุกคนก็คือการช่วยดูแลรักษา แต่ปัจจุบันนี้ เกินกว่า 1.5 เท่าของความจุทรัพยากรธรรมชาติของโลกถูกใช้งานตลอดเวลา และเป็นที่คาดการณ์ว่าภายในช่วงทศวรรษหน้า เราจะใช้งานทรัพยากรโลกเป็นจำนวน 200% นี่ไม่เรียกว่ายั่งยืนอย่างแน่นอน

สำหรับองค์กรต่าง ๆ  sustainability ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน จากการวิจัยแล้ว  sustainability เป็นตัวขับเคลื่อนผลกำไร องค์กรต่าง ๆ จึงควรร่วมมือช่วยกันจัดการภัยคุกคามใด ๆ ก็ตามต่อ sustainability  และเพื่อบรรลุเป้าหมายด้าน sustainability นี้ เราสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลและ AI ได้ จากที่ ChatGPT แนะนำ โดยเราจะสามารถรับข้อมูลเชิงลึก และระบบอัตโนมัติที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร, ลดของเสีย, และลดผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ข้อมูลและ AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร, คาดการณ์และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ในระบบอุตสาหกรรม, และตรวจสอบและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำและป่าไม้ นอกจากนี้ Al ยังสามารถถูกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากจากเซ็นเซอร์และแหล่งข้อมูลอื่น ๆ สำหรับการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสถานะของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์  

สิ่งนี้สามารถช่วยระบุรูปแบบและระบุแนวโน้มที่สามารถบอกเราในวิธีการส่งเสริม sustainability  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ decision-making และแนวทางในการดำเนินการ

Data Analysis with Sustainability

10 สิ่งสำคัญที่องค์กรควรรู้คือ

  1. การเติบโตและ sustainability ของธุรกิจนั้นเป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน จากแรงกดดันเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ESG (Environment, Social, และ Governance) ทำให้ ESG ไม่สามารถต่อรองกับผู้บริโภคได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อผลักดันการมีส่วนร่วมและความภักดีของลูกค้า บริษัทต่าง ๆ ควรคำนึงถึงเรื่อง sustainability เป็นเรื่องแรก ๆ ของกลยุทธ์ด้านข้อมูลของตน
  2. บริษัทต่าง ๆ กำลังรวม ESG เข้ากับกลยุทธ์องค์กรของตนมากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งโดยปกติแล้ว ข้อมูลที่จำเป็นจะไม่ถูกบันทึกโดยกระบวนการและระบบแบบเดิม ๆ ซีอีโอจึงจำเป็นต้องระบุธุรกิจภายในและข้อมูลผลกระทบใหม่ที่พวกเขาจะใช้เพื่อสร้างการวัดความก้าวหน้าและความสำเร็จที่แท้จริงตั้งแต่เนิ่น ๆ นโยบายจากบนลงล่างที่ส่งเสริมการรู้ข้อมูลและ sustainability จะช่วยให้ธุรกิจพร้อมสำหรับอนาคต
  3. ความกังวลในระยะสั้นไม่จำเป็นต้องขัดแย้งกับเป้าหมายระยะยาวด้าน sustainability  จริงอยู่ที่กำไรเป็นปัจจัยมาตรฐานเริ่มต้นของความสำเร็จ แต่บริษัทต่าง ๆ ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ด้านข้อมูลเพื่อสนับสนุนปัจจัยสำคัญทั้งสามประการ คือ กำไร, ผู้คน, และโลก และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ หลาย ๆ บริษัทกำลังเผชิญความท้าทายในการอยู่รอดระยะสั้นในตลาดปัจจุบันและด้านมูลค่าทางการเงิน ด้วยมีวิกฤตค่าครองชีพ, ความตึงเครียดระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น, อัตราเงินเฟ้อที่สูง, และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ดังนั้รการมองเห็นข้อมูลที่ดีขึ้นและการใช้ข้อมูลอย่างกว้างขึ้นสามารถช่วยได้
  4. ค่าตอบแทนและการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นจึงมักมีความต้องการในการผูกแรงจูงใจและโบนัสของผู้นำระดับสูงเข้ากับการบรรลุเป้าหมาย ESG ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งองค์กร ESG ในองค์กรขนาดใหญ่ และก็ยังมองหาวิธีการรวมสิ่งเหล่านี้ทั่วทั้งองค์กรด้วย จากการสำรวจล่าสุดโดย Adobe  sustainability ในที่ทำงานเป็นสิ่งที่พนักงาน 32% คิดว่าสมควรต้องมี พนักงานจะภาคภูมิใจมากขึ้นหากบริษัทตนมีการจัดตั้งโปรแกรม ESG ซึ่งนี่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของการดำเนินงานด้าน sustainability และสามารถมีผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจโดยรวม
  5. ความท้าทายที่แท้จริงคือการจัดการเกี่ยวกับ sustainability ในขณะที่ทำ gap analysis บริษัทจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มข้อมูลที่ช่วยให้สามารถวางแผนการลดผลกระทบ, เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ, และส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นสำหรับสิ่งแวดล้อม
  6. การบรรลุ net zero ต้องใช้เวลา ซึ่งเริ่มต้นด้วย IT ที่ยั่งยืน ขณะนี้เราอยู่ในยุคสองของ Machine Age หรือบางครั้งเรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ดังนั้นการพบเจอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกแบบระบบไอทีโดยคำนึงถึง sustainability จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เช่น การใช้โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่สามารถปรับขนาดทรัพยากรการประมวลผลให้ขึ้นหรือลงเพื่อรองรับความต้องการที่ผันผวน จะประหยัดพลังงานมากกว่าคลังข้อมูลที่มีขนาดตามข้อกำหนด
  7. เราควรใช้ข้อมูลที่ตนมีอยู่แล้ว เพราะข้อกำหนดในการรวบรวมและการเปิดเผยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและโอกาสที่จะรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมก็มีอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญจึงเป็นการดำเนินการกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหากเราอยากมั่นใจว่าข้อมูลสามารถถูกนำไปปฏิบัติได้ ก็ควรต้องทำการทำให้ข้อมูลอยู่ภายใต้การควบคุมแต่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อผลักดันให้ทั้งบริษัทมีการรู้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลในที่ที่เหมาะสมกับฐานลูกค้า ซึ่งสำหรับการนี้ Snowflake มีบริการเพื่อทำให้  workflow  ESG ง่ายขึ้น
  8. ธุรกิจต้องการการมองเห็น supply chain ที่ชัดเจน เนื่องจากอาจมีปัญหาเช่นหากซัพพลายเออร์หลายรายเชื่อมโยงกับ supply chain (“ซัพพลายเออร์ของซัพพลายเออร์ของฉันกับซัพพลายเออร์ของฉัน…”) กำลังใช้แนวทางปฏิบัติที่ต่อต้านสิ่งแวดล้อม หรือเรื่องที่ว่าบริษัทใดจะเป็นผู้รับผิดชอบภายใต้ข้อบังคับ CSRD หรือ Scope-3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือบริษัทส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของตนในระดับนี้ได้ ซึ่งหากไม่มีการมองเห็นเชิงลึกนี้การรายงานก็จะไม่สมบูรณ์ บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องสร้างแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้เราสามารถแชร์ข้อมูลทั่วทั้ง value chain ด้วยวิธีที่โปร่งใส, ลื่นไหล, มีเวลาแฝงต่ำ, และอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเต็มที่ นอกจากข้อมูลภายในและข้อมูล supply chain แล้ว บริษัทต่าง ๆ ยังจำเป็นต้องดูแหล่งข้อมูลภายนอกหลายแห่ง เช่น ข้อมูลเชิงพื้นที่และภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อดูภาพรวม ซึ่งต้องใช้ชุดข้อมูลประเภทต่าง ๆ กันในรูปแบบต่าง ๆ นี่หมายความว่าบทบาทของตลาดข้อมูลจะเติบโตมากขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีซัพพลายเออร์บางรายใน Snowflake Marketplace เช่น Versed.ai ที่เสนอการมองเห็น supply chain หลายระดับ และ Snowflake Data Collaboration for the Climate Initiative จะช่วยให้ลูกค้ามีเฟรมเวิร์กในการมองเห็น supply chain ของตน
  9. gamification สามารถช่วยให้ stakeholder (ผู้ที่เกี่ยวข้อง) หลักมีส่วนร่วม บางองค์กรกำลังใช้ gamification เพื่อดึงดูด stakeholder ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจเป็นวิธีที่สร้างสรรค์ในการดึงดูดผู้คนให้มีส่วนร่วมกับ ESG target มากขึ้น คุณสามารถเริ่มสร้างแอป, เกม, และพอร์ทัล ตามข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้เพื่อจัดการแข่งขันด้าน sustainability ระหว่างพนักงาน, ลูกค้า, และซัพพลายเออร์ของคุณ เช่นการที่ธนาคารแห่งหนึ่งใช้บริการของ Snowflake เพื่อทำงานร่วมกันในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจ (collaboration) อย่างทีม risk, ทีม retail, และทีม ESG เพื่อสร้างการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับ carbon footprint ของลูกค้า
  10. data mesh อาจเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจและการบรรลุเป้าหมายด้าน sustainability โดย data mesh คือสถาปัตยกรรมข้อมูลแบบกระจายอำนาจและรูปแบบการดำเนินงานซึ่งมีข้อมูลเป็นผลิตภัณฑ์ และทีมที่ใกล้ชิดกับข้อมูลนั้นมากที่สุดเป็นเจ้าของ และไม่ใช่โมเดลที่ข้อมูลถูกรวมศูนย์เข้าด้วยกันใน data lake หรือคลังข้อมูลแห่งเดียว ดังนั้นภายใน data mesh  sustainability สามารถถูกกำหนดเป็น use case ที่สำคัญของการใช้งานข้ามสายงานสำหรับข้อมูล ซึ่งช่วยให้ทีมที่ใกล้ชิดกับข้อมูลนั้นเข้าใจความหมายของ sustainability ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาสามารถทำเพื่อช่วยรวบรวมและรักษาข้อมูล sustainability ที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่น่าเชื่อถือได้